ข้ า พ ร ะ พุ ท ธ เ จ้ า    ~    ก ลุ่ ม เ ว็ บ จี พี เ อ ส เ ที่ ย ว ไ ท ย ด อ ท ค อ ม   (กลุ่มเว็บลูกหลานชาวพิจิตร)

ผู้เขียน หัวข้อ: หลักการเลือกชุดเต้ารับ  (อ่าน 629 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

homemie

  • * ฝากประชาสัมพันธ์ *
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 0
  • -จึงได้รับ: 0

  • ไม่อยู่
  • *

  • 28
  • กำลังใจ :
    +0/-0
  • ระบบปฏิบัติการ:
  • Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
  • เบราเซอร์:
  • Chrome 92.0.4515.159 Chrome 92.0.4515.159
  • สมาชิกลำดับที่: 2597
หลักการเลือกชุดเต้ารับ
« เมื่อ: 25 สิงหาคม 2564, เวลา 17:41:51 น. »
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...                  
เต้ารับสายไฟ (Electrical Sockets)
ชุดเต้ารับ และ ปลั๊กไฟ เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าประจำบ้านซึ่งมีความสำคัญอย่างมากกับการใช้ชีวิตประจำวัน ใช้สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆภายในบ้าน ซึ่งอาจจะทำการติดตั้งใช้งานได้ทั้งภายนอกและภายในบ้านอย่างน้อยห้องละ 1-2 จุด โดยตำแหน่งในการติดตั้งจะต้องมีความสอดคล้องกับตำแหน่งของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เราต้องการใช้งาน เช่น ต่อกับทีวี ไมโครเวฟ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เป็นต้น
แต่บางครั้งชุดเต้ารับที่ทำการติดตั้งเอาไว้ก็อาจจะไม่เพียงพอต่อการใช้งาน หรือ ใช้งานได้ไม่ทั่วถึง ดังนั้นจึงมีการนำปลั๊กพ่วงเข้ามาใช้งาน เป็นตัวช่วยเชื่อมโยงสายไฟสำหรับใช้งานได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น สามารถอำนวยความสะดวกในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยชนิดของปลั๊กไฟสามารถแบ่งตามหน้าที่ออกเป็น 3 ชนิดด้วยกัน คือ...
-ปลั๊กตัวเมีย (เต้ารับ)
เป็นตัวจ่ายกระแสไฟฟ้ามักจะติดตั้งอยู่กับที่ตามกำแพง ตามผนังบ้าน หรือในจุดที่ต้องการใช้กระแสไฟฟ้า มีให้เลือกทั้งชนิด 2 ขาและ 3 ขาเช่นกัน แต่การเลือกเต้ารับสายไฟมาใช้งานจะต้องเลือกให้สอดคล้องกับปลั๊กตัวผู้ด้วย เพราะหากคุณติดตั้งเต้ารับสายไฟเป็นแบบ 2 ขาก็จะไม่สามารถใช้งานปลั๊กแบบ 3 ขาได้ ดังนั้นทางที่ดีควรเลือกติดตั้งเต้ารับสายไฟแบบ 3 ขาไปเลย ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านด้วย ขาเต้ารับซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผงวงจรภายในควรทำจากทองเหลืองหรือทองแดง เพราะนำไฟฟ้าได้ดีกว่าเหล็กชุบสีหรือโลหะอื่นๆ ซึ่งใช้ไปไม่นาน ขาเสียบมักจะหลวม อาจเกิดการสปาร์คขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ปลั๊กพ่วงไหม้ได้ ส่วนบ้านที่มีเด็กเล็กควรใช้เต้ารับแบบมีม่านนิรภัย (Safety Shutter)เพื่อป้องกันเด็กเอานิ้วมือแหย่รูปลั๊กพ่วงขณะใช้งาน
-ปลั๊กตัวผู้ (เต้าเสียบ)
เป็นตัวที่รับกระแสไฟฟ้าเพื่อส่งต่อไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าให้สามารถทำงานได้ โดยปรกติแล้วจะประกอบติดมากับเครื่องใช้กระแสไฟฟ้าทุกชนิด มีให้เลือกใช้งานอยู่ 2 รูปแบบคือปลั๊กตัวผู้แบบ 2 ขา และแบบ 3 ขา โดยขาที่ 3 เราจะเรียกว่าสายดิน หรือ สายกราวด์ (G) การเลือกปลั๊กไฟ ควรเลือกเต้าเสียบหรือหัวปลั๊กขากลมแทนขาแบน เพราะเป็นมาตรฐานมอก. ของประเทศไทย และมีฉนวนหุ้มที่โคนขาปลั๊กทั้งสองขา เพื่อป้องกันไม่ให้นิ้วสัมผัสขาปลั๊กที่มีไฟ
- ปลั๊กพ่วง
             เป็นเหมือนกับชุดเต้ารับ สายไฟติดกับสายไฟที่ปลายสายเป็นปลั๊กตัวผู้สำหรับเสียบเชื่อมต่อกับเต้ารับที่อยู่ตามจุดภายในห้อง โดยสายไฟของปลั๊กพ่วงก็มีความยาวให้เลือกหลายขนาด ตั้งแต่ 1 เมตร ไปจนถึง 20 เมตร หรือมากกว่า ซึ่งการนำปลั๊กพ่วงเข้ามาใช้งาน นอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกในการต่อพ่วงเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านได้อย่างทั่วถึงแล้ว ยังช่วยเพิ่มเต้ารับสายไฟภายในห้องให้มีเพิ่มมากขึ้นและเพียงพอต่อความต้องการในการใช้งานอีกด้วย

หลักการเลือกเต้ารับสายไฟและปลั๊กพ่วง

แน่นอนว่าการมีเต้ารับหรือปลั๊กพ่วงเข้ามาใช้งานเพิ่มเติม จะช่วยสร้างความสะดวกในการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งในปัจจุบันปลั๊กพ่วงหรือชุดเต้ารับสายไฟก็สามารถหาซื้อได้ง่ายมาก
แต่การเลือกซื้อปลั๊กพ่วงหรือเต้ารับสายไฟ จะต้องพิจารณากันถึงเรื่องของความปลอดภัยในการใช้งาน เพราะหากคุณเลือกปลั๊กไฟที่ไม่มีคุณภาพอาจจะเป็นสาเหตุก่อให้เกิดเพลิงไหม้หรือกระแสไฟฟ้าลัดวงจรได้ ดังนั้นการเลือกปลั๊กไฟควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเครื่องหมาย มอก. หรือมาตรฐานของ IEC และควรทำจากวัสดุที่มีคุณสมบัติไม่ลามไฟ เช่น พลาสติก ABS, AVC หรือ PC ซึ่งทนความร้อนและแรงกระแทกได้ดีกว่าพลาสติก PVC ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดเพลิงไหม้กรณีเกิดความร้อนสูง
นอกจากนี้ปลั๊กพ่วงที่ดีต้องบอกพิกัดไฟสูงสุดที่สามารถรองรับได้ โดยแรงดันไฟฟ้าของประเทศไทยกำหนดให้ใช้งานระหว่าง 220 – 250 โวลต์ ใช้กำลังไฟสูงสุดไม่เกิน 2500 วัตต์ และทนกระแสไฟได้สูงสุด 10 แอมแปร์ ที่สำคัญต้องมีระบบฟิวส์หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ตัดกระแสไฟฟ้าเกิน และควรมีสวิตช์เปิด-ปิด เพื่อป้องกันไฟกระชากจากการถอดปลั๊กเต้าเสียบ มีไฟแสดงสถานะการทำงาน






 

แนชเชอรัล รีสอร์ต (Nat's Resort) พิจิตร
เว็บนี้ จะแสดงผลถูกต้อง ฟ้อนต์สวยงาม เข้าเว็บได้เร็ว เมื่อท่านใช้เบราเซอร์ Chrome และ Firefox เท่านั้น ไม่รองรับ Internet Explorer  
แลกลิ้งค์ / ติดต่อเรา web.phichitbaanrao@gmail.com © สงวนลิขสิทธิ์ข้อมูลในเว็บนี้ตามกฎหมาย ท่านสามารถนำไปเผยแพร่ได้แต่ต้องทำลิ้งค์กลับมา
                                                     

เว็บส่วนราชการ เว็บจังหวัดพิจิตร | สนง.ประชาสัมพันธ์พิจิตร | สนง.เทศบาลเมืองพิจิตร | สนง.เทศบาลตำบลสากเหล็ก | สนง.ขนส่งพิจิตร | สนง.วัฒนธรรมพิจิตร | ศูนย์อุทกวิทยาและบริหารน้ำภาคเหนือตอนล่าง | ระบบตรวจวัดสถานะภาพน้ำทางไกลอัตโนมัติ ลุ่มน้ำยมและน่าน | ศูนย์ดำรงธรรมพิจิตร
เว็บสถานศึกษา วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร | โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม | โรงเรียนหัวดงรัฐชนูปถัมภ์ | โรงเรียนตะพานหิน | โรงเรียนบางมูลนากภูมิวิทยาคม | โรงเรียนท่าเสาพิทยาคม | โรงเรียนเขาทรายทับคล้อพิทยา | โรงเรียนดงเจริญพิทยาคม | โรงเรียนสากเหล็กวิทยา | โรงเรียนวังทรายพูนวิทยา | โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์ | โรงเรียนวชิรบารมีพิทยาคม | โรงเรียนวังโมกข์พิทยาคม | โรงเรียนบ้านวังอ้อ (ต.ท่าเยี่ยม)
เว็บทั่วไป สวนมะนาวแป้นท้ายไร่บ้านวังกระทึง ต.เนินปอ อ.สามง่าม | เว็บเกษตรพอเพียงดอทคอม | เว็บเรือยาว ไทยลองโบ้ท | เว็บหลวงปู่จันทา ถาวโร | ฟรี.. แผนที่GPS ลาว กัมพูชา พม่า (ทั่วโลก) แบบเทพๆ | ดูกล้อง CCTV ทางหลวง 1 | ดูกล้อง CCTV ทางหลวง 2 | เช็คความเร็วเน็ต - adslthailand.com | บอร์ดนักวิทยุสมัครเล่น | ตรวจสอบการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นจากชื่อหรือนามเรียกขาน | ตรวจสอบนามเรียกขานที่ถูกยกเลิก | เว็บโหลด youtube เป็น mp3 หรือ VCD ลิ้งค์1 ลิ้งค์2 | ตรวจผลสลาก.. | ติดตามการส่งพัสดุ EMS | กสทช.กิจการวิทยุสมัครเล่น (เค้าอัพเดทแล้วนะ 31/1/60) | ทีปบางพลัดดอทคอม หรือ ทีป อิเล็คทรอนิคส์ | ร้านซ่อมดอทคอม
เว็บกลุ่มเดินทาง การบินไทย | โอเรี่ยนไทย | แอร์เอเชีย | Solar Air | บางกอกแอร์เวย์ | บริษัทขนส่งจำกัด (บขส.) | การรถไฟแห่งประเทศไทย | สมบัติทัวร์ | สยามเฟิสท์ทัวร์ | นครชัยแอร์ | รถทัวร์ไทยดอทคอม

หน่วยงานรัฐ-เอกชนใน จ.พิจิตร ต้องการฝากลิ้งค์ ติดต่อ     น้ายอด สามง่าม   มือถือ 095-3949895     อีเมล์: web.phichitbaanrao@gmail.com