ข้ า พ ร ะ พุ ท ธ เ จ้ า    ~    ก ลุ่ ม เ ว็ บ จี พี เ อ ส เ ที่ ย ว ไ ท ย ด อ ท ค อ ม   (กลุ่มเว็บลูกหลานชาวพิจิตร)

ผู้เขียน หัวข้อ: หมอประจำบ้าน: ฝี (Abscess/Boils/Furuncles)  (อ่าน 128 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

siritidaphon

  • * ฝากประชาสัมพันธ์ *
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 0
  • -จึงได้รับ: 0

  • ออนไลน์
  • *

  • 534
  • กำลังใจ :
    +0/-0
  • ระบบปฏิบัติการ:
  • Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
  • เบราเซอร์:
  • Firefox 132.0 Firefox 132.0
  • สมาชิกลำดับที่: 1884
หมอประจำบ้าน: ฝี (Abscess/Boils/Furuncles)
« เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2567, เวลา 16:03:25 น. »
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...                  
หมอประจำบ้าน: ฝี (Abscess/Boils/Furuncles)

ฝี เป็นตุ่มหนองหรือถุงหนอง ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อ แล้วเกิดการอักเสบกลายเป็นหนองขังอยู่ใต้ผิวหนัง พบได้ทุกส่วนของร่างกาย เรียกว่า "Abscess" ซึ่งหมายถึงฝีทุกชนิด*

ถ้าเป็นตุ่มฝีที่เกิดจากการอักเสบของรูขุมขนและเนื้อเยื่อโดยรอบ เรียกว่า "Boils" หรือ "Furuncles" (ถ้าขึ้นหลายหัวติด ๆ กัน เรียกว่า "Carbuncles" หรือ ฝีฝักบัว) ซึ่งพบได้บ่อยในบริเวณที่มีการเสียดสีและมีเหงื่อออกมาก เช่น ใบหน้า คอ ไหล่ รักแร้ ก้น เป็นต้น นอกจากนี้อาจพบเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคผิวหนัง เช่น สิว หิด เหา เป็นต้น

ฝีที่ผิวหนังพบได้ในคนทุกวัย ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ (เช่น เบาหวาน เอดส์ กินสเตียรอยด์เป็นประจำ ขาดอาหาร) มีสุขอนามัยที่ไม่ดี มีการสัมผัสสารเคมีที่ระคายผิวหนัง มีความเสี่ยงที่จะเป็นฝีได้ง่ายและบ่อย

*ฝี (abscess) นอกจากพบที่ผิวหนังซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่มสแตฟีโลค็อกคัสแล้ว ยังอาจพบที่อวัยวะต่าง ๆ ได้ ซึ่งอาจเกิดจากเชื้อจุลชีพต่าง ๆ กันไป และแต่ละชนิดอาจมีชื่อเรียกจำเพาะ เช่น กุ้งยิง(sty/hordeolum), ฝีทอนซิล (peritonsillar abscess), ฝีรำมะนาดหรือฝีปริทันต์ (periodontal abscess), ฝีสมอง (brain abscess), ฝีตับ (liver abscess), ฝีไต (kidney abscess), ฝีปอด (lung abscess), ฝีรอบทวารหนัก (perianal abscess), ฝีคัณฑสูตร (fistula in ano) เป็นต้น

สาเหตุ

ฝีที่ผิวหนังส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่มสแตฟีโลค็อกคัส อาจติดต่อโดยการสัมผัสถูกผู้ป่วยโดยตรง โดยเชื้อจะเข้าไปในบริเวณผิวหนังที่มีรอยแยกหรือรอยบาดแผลเล็ก ๆ ทำให้เกิดการอักเสบ กลายเป็นตุ่มฝีหรือถุงฝีซึ่งบรรจุด้วยเชื้อโรค เม็ดเลือดขาว และเซลล์ตาย


อาการ

มักจะขึ้นเป็นตุ่ม หรือก้อนบวม รู้สึกปวด กดถูกเจ็บ ผิวหนังบริเวณนั้นมีลักษณะแดงร้อน

ในรายเป็นฝีที่เกิดจากรูขุมขนอักเสบ (boils) จะพบมีเส้นผมหรือขนอยู่ตรงกลาง

ผู้ป่วยบางรายอาจมีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ร่วมด้วย

ระยะที่ขึ้นเป็นฝีใหม่ ๆ จะมีลักษณะแข็ง ตุ่มนี้จะขยายโตขึ้นและเจ็บมาก ต่อมาค่อย ๆ นุ่มลงและกลัดหนอง บางครั้งเมื่อฝีเป่งมาก ๆ อาจแตกเองได้ (หลังฝีขึ้นไม่กี่วัน หรือ 1-2 สัปดาห์) แล้วอาการเจ็บปวดและอาการไข้ที่อาจมีตอนแรกจะทุเลา

บางครั้งอาจพบต่อมน้ำเหลืองในบริเวณไกล้เคียงอักเสบด้วย เช่น ถ้าเป็นฝีที่เท้า อาจมีไข่ดัน (ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบ) บวมและปวด ถ้าเป็นที่มือ ก็อาจมีการอักเสบของต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ เป็นต้น


ภาวะแทรกซ้อน

ส่วนใหญ่มักดูแลรักษาให้หายขาด และไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง ยกเว้นอาจเป็นแผลเป็น

ผู้ที่เป็นเบาหวานหรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ อาจเป็นฝีได้บ่อย และหากไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่แรกอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เชื้ออาจลุกลามเข้ากระแสเลือด ทำให้เป็นฝีที่ไต (perinephric abscess) กระดูกอักเสบเป็นหนอง (osteomyelitis) โลหิตเป็นพิษ

ถ้าเป็นฝีตรงบริเวณกลาง ๆ ใบหน้า (เช่น กลางสันจมูก หรือริมฝีปากบน) แล้วบีบแรง ๆ เชื้ออาจแพร่กระจายเข้าสมองเป็นอันตรายถึงตายได้


การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการและสิ่งตรวจพบ ในบางรายแพทย์อาจจะดูดเอาหนองไปตรวจหาเชื้อ

การรักษาโดยแพทย์

แพทย์จะให้การดูแลรักษา ดังนี้

1. ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นจัด ๆ (ขนาดที่พอทนได้ อย่าร้อนจัด) ประคบวันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 10-15 นาที ช่วยให้ตุ่มฝีไม่โตขึ้น และสุกเร็วขึ้น

2. ให้ยาแก้ปวดลดไข้

3. ถ้ามีไข้ มีฝีหลายหัว หรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังชั้นลึกอักเสบร่วมด้วย แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ เช่น ไดคล็อกซาซิลลิน โคอะม็อกซิคลาฟ หรืออีริโทรไมซินนาน 5-7 วัน

4. ถ้าฝีสุก (ฝีนุ่มเต็มที่) อาจใช้เข็มเจาะดูด หรือผ่าระบายหนองออก พร้อมกับใส่ผ้าเป็นหมุดระบายหนอง ชะล้างแผลและเปลี่ยนหมุดทุกวัน จนกระทั่งแผลตื้น


การดูแลตนเอง

หากสงสัยเป็นฝี ควรปรึกษาแพทย์

เมื่อตรวจพบว่าเป็นฝี ควรดูแลตนเอง ดังนี้

    รักษา กินยา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
    ติดตามรักษากับแพทย์ตามนัด
    อย่าบีบหัวฝี โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าขึ้นตรงกลางใบหน้า
    หลีกเลี่ยงการกินยาชุด หรือยาลูกกลอน ซึ่งอาจมียาสเตียรอยด์ผสม ทำให้ฝีลุกลามได้


ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    ดูแลรักษาแล้วอาการไม่ทุเลาใน 2-3 วัน
    มีไข้สูง หนาวสั่น เบื่ออาหาร หรือ ฝีลุกลามมากขึ้น
    ขาดยา ยาหาย หรือกินยาไม่ได้
    ในรายที่แพทย์ให้ยากลับไปกินต่อที่บ้าน กินยาแล้วสงสัยเกิดผลข้างเคียงจากยา เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน จุดแดงจ้ำเขียว หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ

การป้องกัน

    รักษาความสะอาดของร่างกาย อาบน้ำฟอกสบู่วันละ 2 ครั้ง
    กินอาหารที่มีประโยชน์เป็นประจำ
    หลีกเลี่ยงการกินยาชุด หรือยาลูกกลอนซึ่งอาจมียาสเตียรอยด์ผสม ทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง
    เมื่อมีบาดแผลเล็กน้อยที่ผิวหนัง ควรดูแลแผลให้สะอาดและรักษาแผลให้หายดี


ข้อแนะนำ

1. ถ้าเป็นฝีบ่อย ๆ อาจมีภูมิคุ้มกันต่ำ เนื่องจากขาดอาหาร โลหิตจาง เป็นเบาหวาน เอดส์ หรือกินสเตียรอยด์นาน ๆ

ควรตรวจหาสาเหตุ และให้การดูแลรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น ควรตรวจปัสสาวะ ถ้าพบมีน้ำตาล ก็อาจเป็นเบาหวาน ควรส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาล

2. ผู้ป่วยที่เป็นเมลิออยโดซิส อาจแสดงอาการของการติดเชื้อที่ผิวหนัง เช่น ตุ่มนูน ตุ่มหนอง ฝี แผลอักเสบ แผลเรื้อรัง เป็นต้น ถ้าให้การรักษาแล้วไม่ได้ผล หรือสงสัยเป็นเมลิออยโดซิส (เช่น พบในคนอีสานที่เป็นเบาหวาน) ก็ควรส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัด



 

theterraceview-khaokho แนชเชอรัล รีสอร์ต (Nat's Resort) พิจิตร
เว็บนี้ จะแสดงผลถูกต้อง ฟ้อนต์สวยงาม เข้าเว็บได้เร็ว เมื่อท่านใช้เบราเซอร์ Chrome และ Firefox เท่านั้น ไม่รองรับ Internet Explorer  
แลกลิ้งค์ / ติดต่อเรา web.phichitbaanrao@gmail.com © สงวนลิขสิทธิ์ข้อมูลในเว็บนี้ตามกฎหมาย ท่านสามารถนำไปเผยแพร่ได้แต่ต้องทำลิ้งค์กลับมา
                                                     

เว็บส่วนราชการ เว็บจังหวัดพิจิตร | สนง.ประชาสัมพันธ์พิจิตร | สนง.เทศบาลเมืองพิจิตร | สนง.เทศบาลตำบลสากเหล็ก | สนง.ขนส่งพิจิตร | สนง.วัฒนธรรมพิจิตร | ศูนย์อุทกวิทยาและบริหารน้ำภาคเหนือตอนล่าง | ระบบตรวจวัดสถานะภาพน้ำทางไกลอัตโนมัติ ลุ่มน้ำยมและน่าน | ศูนย์ดำรงธรรมพิจิตร
เว็บสถานศึกษา วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร | โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม | โรงเรียนหัวดงรัฐชนูปถัมภ์ | โรงเรียนตะพานหิน | โรงเรียนบางมูลนากภูมิวิทยาคม | โรงเรียนท่าเสาพิทยาคม | โรงเรียนเขาทรายทับคล้อพิทยา | โรงเรียนดงเจริญพิทยาคม | โรงเรียนสากเหล็กวิทยา | โรงเรียนวังทรายพูนวิทยา | โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์ | โรงเรียนวชิรบารมีพิทยาคม | โรงเรียนวังโมกข์พิทยาคม | โรงเรียนบ้านวังอ้อ (ต.ท่าเยี่ยม)
เว็บทั่วไป สวนมะนาวแป้นท้ายไร่บ้านวังกระทึง ต.เนินปอ อ.สามง่าม | เว็บเกษตรพอเพียงดอทคอม | เว็บเรือยาว ไทยลองโบ้ท | เว็บหลวงปู่จันทา ถาวโร | ฟรี.. แผนที่GPS ลาว กัมพูชา พม่า (ทั่วโลก) แบบเทพๆ | ดูกล้อง CCTV ทางหลวง 1 | ดูกล้อง CCTV ทางหลวง 2 | เช็คความเร็วเน็ต - adslthailand.com | บอร์ดนักวิทยุสมัครเล่น | ตรวจสอบการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นจากชื่อหรือนามเรียกขาน | ตรวจสอบนามเรียกขานที่ถูกยกเลิก | เว็บโหลด youtube เป็น mp3 หรือ VCD ลิ้งค์1 ลิ้งค์2 | ตรวจผลสลาก.. | ติดตามการส่งพัสดุ EMS | กสทช.กิจการวิทยุสมัครเล่น (เค้าอัพเดทแล้วนะ 31/1/60) | ทีปบางพลัดดอทคอม หรือ ทีป อิเล็คทรอนิคส์ | ร้านซ่อมดอทคอม
เว็บกลุ่มเดินทาง การบินไทย | โอเรี่ยนไทย | แอร์เอเชีย | Solar Air | บางกอกแอร์เวย์ | บริษัทขนส่งจำกัด (บขส.) | การรถไฟแห่งประเทศไทย | สมบัติทัวร์ | สยามเฟิสท์ทัวร์ | นครชัยแอร์ | รถทัวร์ไทยดอทคอม

หน่วยงานรัฐ-เอกชนใน จ.พิจิตร ต้องการฝากลิ้งค์ ติดต่อ     น้ายอด สามง่าม   มือถือ 095-3949895     อีเมล์: web.phichitbaanrao@gmail.com