หมวดบอร์ดฝากประชาสัมพันธ์ต่างๆ (เปิดเป็นสาธารณะ 7 พ.ย. 60)
=> จิปาถะทั่วไป (ไม่มีกลุ่ม) => ข้อความที่เริ่มโดย: siritidaphon ที่ 17 กรกฎาคม 2566, เวลา 11:03:24 น.

หัวข้อ: ข้อมูลสุขภาพ: นิ่วไต (Renal calculus/Kidney stone)
เริ่มหัวข้อโดย: siritidaphon ที่ 17 กรกฎาคม 2566, เวลา 11:03:24 น.
นิ่วไต (นิ่วในไต ก็เรียก) เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศและทุกวัย แต่จะพบมากในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และพบมากในช่วงอายุ 30-40 ปี

ในบ้านเราพบมากทางภาคเหนือ และภาคอีสาน

นิ่วอาจมีขนาดต่าง ๆ กัน อาจมีเพียงก้อนเดียว หรือหลายก้อนก็ได้ ส่วนมากมักเป็นที่ไตเพียงข้างเดียว ที่เป็นทั้ง 2 ข้างอาจพบได้บ้าง บางรายอาจเป็นซ้ำ ๆ หลายครั้งก็ได้

ผู้ที่มีประวัติว่ามีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคนิ่วไตและคนอ้วน มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าปกติ

สาเหตุ

ก้อนนิ่วที่เกิดขึ้นในไต ประกอบด้วยหินปูน (แคลเซียม) กับสารเคมีอื่น ๆ เช่น ออกซาเลต กรดยูริก เป็นต้น การเกิดนิ่วจึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะที่มีแคลเซียมในปัสสาวะมากผิดปกติ ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะการกินอาหารที่มีแคลเซียมสูง การดื่มนมมาก ๆ หรือมีภาวะผิดปกติอื่น ๆ (เช่น ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกิน ซึ่งทำให้มีแคลเซียมในเลือดสูง)

นอกจากนี้ ยังพบเป็นโรคแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเกาต์ ซึ่งมีการขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ

บางกรณีอาจพบเป็นผลข้างเคียงของยา เช่น ยาต้านไวรัสเอดส์-อินดินาเวียร์ (indinavir) ยาขับปัสสาวะฟูโรซีไมด์ ยาแก้ลมชัก-โทพิราเมต (topiramate)

ส่วนกลไกของการเกิดนิ่วนั้น ในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่ามีปัจจัยร่วมกันหลายอย่างด้วยกัน เช่น การอยู่ในเขตร้อนที่ร่างกายสูญเสียเหงื่อง่าย (แล้วดื่มน้ำน้อย ทำให้ปัสสาวะมีปริมาณแคลเซียมเข้มข้น) การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ความผิดปกติของไต เป็นต้น

ผู้ที่ชอบกินอาหารที่มีสารออกซาเลตสูง (ดู “โรคนิ่วกระเพาะปัสสาวะ”) หรือกินวิตามินซีขนาดสูง ๆ (ซึ่งจะกลายเป็นสารออกซาเลต) ก็อาจเป็นนิ่วได้มากกว่าคนปกติ

อาการ

ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดเอวปวดหลังข้างใดข้างหนึ่ง ลักษณะปวดแบบเสียด ๆ หรือปวดบิดเป็นพัก ๆ อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะอาจมีลักษณะขุ่นแดง หรือมีเม็ดทราย

ถ้าก้อนนิ่วมีขนาดเล็ก อาจตกลงมาที่ท่อไต ทำให้เกิดอาการปวดบิดในท้องรุนแรง (ดู “โรคนิ่วท่อไต”)

บางรายอาจไม่มีอาการแสดงเลยก็ได้ และอาจตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพด้วยสาเหตุอื่น

ภาวะแทรกซ้อน

อาจทำให้เกิดการติดเชื้อกลายเป็นกรวยไตอักเสบเฉียบพลัน และถ้าปล่อยไว้นาน ๆ มีการติดเชื้อบ่อย ๆ ก็ทำให้เนื้อไตเสีย กลายเป็นไตวายเรื้อรังได้

การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยเบื้องต้นจากอาการ ประวัติการเจ็บป่วย และการตรวจร่างกาย

แพทย์จะทำการวินิจฉัยให้แน่ชัดโดยการตรวจปัสสาวะ (พบมีเม็ดเลือดแดงจำนวนมาก) ตรวจเลือด เอกซเรย์ อัลตราซาวนด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การถ่ายภาพรังสีไตด้วยการฉีดสารทึบรังสี (intravenous pyelogram/IVP) บางรายอาจนำปัสสาวะไปวิเคราะห์ดูสารที่เป็นปัจจัยของการเกิดนิ่ว


ข้อมูลสุขภาพ: นิ่วไต (Renal calculus/Kidney stone) อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/expert-scoops (https://doctorathome.com/expert-scoops)