เมืองพิจิตร (สระหลวง)
=> สารพันความรู้ & เทคโนโลยี => ข้อความที่เริ่มโดย: Hirari Matsushita ที่ 10 ตุลาคม 2558, เวลา 15:30:50 น.

หัวข้อ: สรรพคุณของกุ่มบก
เริ่มหัวข้อโดย: Hirari Matsushita ที่ 10 ตุลาคม 2558, เวลา 15:30:50 น.
สรรพคุณของกุ่มบก

ลักษณะทั่วไปของกุ่มบก
สำหรับต้นกุ่มนั้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีลำต้นสูงประมาณ 6 – 10 เมตร เปลือกลำต้นสีเทาหรือน้ำตาลอมเทาค่อนข้างหนาและเรียบ ชอบขึ้นตามที่ดอนและป่าผลัดใบซะส่วนใหญ่ สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ หรือตอนกิ่ง ส่วนใบนั้นจะเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 3 ใบ ปลายใบเรียวแหลม โคนสอบแคบหรือแหลม ลักษณะขอบใบเรียบ และมีเส้นแขนงของใบอยู่ประมาณข้างละ 4 – 5 เส้น โดยดอกจะออกเป็นช่อตามง่ามใบไกล้ปลายยอด กลีบเลี้ยงรูปทรงรี กลีบดอกสีขาวอมเขียว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือชมพูอ่อนๆ พร้อมกลิ่นหอมๆ และผลมีรูปทรงกลม ผิวแข็งๆ และสาก เปลือกมีสีน้ำตาลอมแดง และมีเมล็ดมากเป็นรูปเกือกม้าผิวเรียบ

ประโยชน์และสรรพคุณของกุ่มบก
ใบ – ช่วยในการแก้กลากเกลื้อน แก้ตะมอย รวมทั้งช่วยในการขับลม และฆ่าพยาธิ ให้รสร้อน
กระพี้ – ช่วยทำให้ขี้หูแห้งหลุดออกมา ให้รสร้อน
แก่น – ช่วยแก้โรคริดสีดวงผอมเหลือง ให้รสร้อน
ราก – ช่วยแก้มานกระษัยอันเกิดแต่กองลม ให้รสร้อน
เปลือกต้น – มีประโยชน์เหมือนเปลือกกุ่มน้ำและมะรุม เป็นยาระงับประสาท ช่วยแก้โรคผิวหนังต่างๆ รวมทั้งช่วยคุมธาตุ ขับลม แก้ปวดท้อง แก้ลงท้อง แก้อาการบวม ช่วยบำรุงไฟธาตุ ตลอดจนบำรุงหัวใจ และช่วยกระตุ้นให้ลำไส้ย่อยอาหารได้ตามปกติ ให้รสร้อน

ในอดีตมักปลูกต้นกุ่มบกไว้เพื่อรับประทานเป็นอาหารหรือยาสมุนไพรช่วยรักษาโรคต่างๆ แต่ในปัจจุบันนิยมนำต้นกุ่มบกไว้เป็นไม้ประจำบ้าน เนื่องจากความเชื่อที่ว่าต้นกุ่มบกนี้เป็นไม้มงคลที่สามารถช่วยให้ครอบครัวมีฐานะมั่นคง ซึ่งมักปลูกไว้ทางทิศตะวันตกของบ้านซึ่งเป็นทิศมงคลของการปลูกต้นกุ่มบก

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
www.เกร็ดความรู้.net/กุ่มบก (http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%81/)
www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=75394.0 (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=75394.0)
www.dnp.go.th/pattani_botany/พันธุ์ไม้/ป่าบก/กุ่มบก (http://www.dnp.go.th/pattani_botany/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89/%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%81/%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%81/%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%81.htm)