หมวดบอร์ดฝากประชาสัมพันธ์ต่างๆ (เปิดเป็นสาธารณะ 7 พ.ย. 60)
=> เครื่องสำอางค์ แพทย์ สุขภาพ ความงาม ศัลยกรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: siritidaphon ที่ 25 กรกฎาคม 2566, เวลา 12:44:59 น.

หัวข้อ: สารสกัดกระชายขาว สามารถยับยั้งเชื้อไวรัสได้จริงหรือไม่
เริ่มหัวข้อโดย: siritidaphon ที่ 25 กรกฎาคม 2566, เวลา 12:44:59 น.
กระชายขาว ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในช่วงของภาวะโรคระบาดจากเชื้อไวรัส อย่างโรคโควิด (Covid-19) จึงมีการทดลองและพัฒนา สารสกัดกระชายขาว เพื่อใช้เป็นยายับยั้งเชื้อไวรัส โดยความสำเร็จมาจากนักวิจัยของ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า “สารสกัดกระชายขาว” มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสได้

งานวิจัยที่เกิดจากความร่วมมือของคณะวิทยาศาสตร์ และ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน) หรือ TCELS พบว่า สารสกัดกระชายขาว สามารถทำหน้าที่ยับยั้งการผลิตและการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส อีกทั้งยังสามารถลดจำนวนเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสได้กว่า 100%

สารสกัดกระชายขาว มีสารสำคัญ 2 ตัวคือ

– PandulatinA (แพนดูเรทีน-เอ) ซึ่งเป็นสารบริสุทธิ์ที่แยกได้จากเหง้าของกระชายขาว มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อไวรัสก่อโรค ทั้งการยับยั้งเชื้อไวรัสก่อนเข้าสู่เซลล์หรือการป้องกันการติดเชื้อ และการยับยั้งไวรัสภายหลังจากไวรัสเข้าสู่เซลล์หรือการรักษาภายหลังการติดเชื้อแล้ว จึงค่อนข้างมีความปลอดภัยต่อการนำมาใช้

– Pinostrobin (พิโนสโตรบิน) เป็นองค์ประกอบทางเคมีชนิดหลักที่พบในกระชายขาว ซึ่งเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่พบได้ทั่วไปในประเทศไทย มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่หลากหลาย เช่น ต้านเชื้อแคนดิดาอัลบิแคนส์ ต้านเชื้อไวรัส ต้านออกซิเดชัน ต้านอักเสบ ต้านลิวคิเมีย ต้านเอนไซม์อโรมาเทส (anti-aromatase) ต้านเซลล์มะเร็งเต้านม ปกป้องเซลล์ประสาท

“กระชาย” (finger root) หรือ ขิงจีน เป็นพืชวงศ์ขิง มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Boesenbergia rotunda เป็นพืชสมุนไพร (herb) และเครื่องเทศ (spice) กระชาย ถือว่าเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่งที่คนไทยคุ้นเคย กันมานานแล้ว จะมีถิ่นกำเนิด ในแถบร้อนอยู่ที่บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะพบขึ้นอยู่บริเวณในป่าดิบร้อนชื้น

กระชายเป็นไม้ลมลุกที่มีลำต้นอยู่ใต้ดินซึ่งจะเรียกว่า เหง้า และเหง้าที่อยู่ใต้ดินจะแตกรากออกไปเป็นกระจุกจำนวนมากจะเป็นที่สะสมอาหาร ส่วนตรงกลางจะพองกว้างกว่าส่วนหัวและส่วนท้าย ส่วนเนื้อด้านในจะมีสีแตกต่างไปตามชนิดของกระชายและจะมีกลิ่นหอม

เหง้ากระชาย นี้จะมีน้ำมันหอมระเหยและมีสารสำคัญหลายชนิดสะสมอยู่ซึ่งจะมีสรรพคุณในการดับกลิ่นคาวและเป็นสารที่มีสรรพคุณทางยาสมุนไพรหลายชนิดสารทีว่านี้คือ สารแคมฟีน (Camphene) ทูจีน (Thujene) และการบูร และในกระชายยังมีสารอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกายซึ่งจะพบตรงเหง้าของกระชาย คือ แคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินต่าง ๆ ซึ่งมีประโยชน์แก่ร่างกาย

กระชาย มี 3 ชนิด

ชนิดที่ 1 คือ กระชายขาว กระชายเหลือง หรือเรียกว่า กระชายแกง ซึ่งเป็นกระชายที่นำมาปรุงอาหารใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกง โดยส่วนที่นิยมนำมาใช้ประกอบอาหารกันมากที่สุดคือ รากสะสมอาหาร หรือที่เรียกว่า “นมกระชาย” ซึ่งรากกระชายนี้จะมีกลิ่นหอม เพราะมีคุณสมบัติในการช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้เป็นอย่างดี

ชนิดที่ 2 คือ กระชายแดง เป็นสมุนไพรหายาก ส่วนใหญ่หมอยาพื้นบ้านใช้ในตำรับยารักษาโรคมะเร็งตามศาสตร์การแพทย์พื้นบ้าน และจากงานวิจัยในโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทำการค้นคว้าทดลองและคิดค้นตำรับยาสมุนไพรเพื่อรักษาโรคมะเร็งชนิดต่างๆ หลายตำรับและใช้รักษาผู้ป่วยอยู่จนถึงปัจจุบัน

ชนิดที่ 3 คือ กระชายดำ (Black Ginger) เป็นหนึ่งในสามของสมุนไพรที่กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกและภาคีเครือข่ายคัดเลือกให้เป็น ผลิตภัณฑ์หรือสมุนไพรต้นแบบ เนื่องจากเป็นสมุนไพรที่มีศักยภาพสูงในเชิงพาณิชย์ ได้รับความนิยมเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย และเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ส่วนใหญ่ใช้ทำยาอายุวัฒนะ บำรุงสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งปัจจุบันมีทั้งไวน์กระชายดำและน้ำหมักกระชายดำ

“สมุนไพรกระชาย” มีสรรพคุณทางยานานับประการ จนได้ชื่อในวงการแพทย์แผนไทยว่าเป็น “โสมไทย” เนื่องจากกระชายกับโสมมีความคล้ายคลึงกันหลายอย่าง ลักษณะเด่นของสมุนไพรทั้งสองชนิด เช่น สรรพคุณในการบำรุงกำลังและเสริมสมรรถภาพทางเพศ กระชายและโสมต่างก็เป็นพืชที่มีส่วนสะสมอาหารที่ใช้เป็นยาอยู่ใต้ดิน สามารถเรืองแสงในที่มืดได้เหมือนกันด้วย บางครั้งเราจะเรียกโสมว่า “โสมคน” และเรียกกระชายว่า “นมกระชาย” มีลักษณะที่คล้ายกับรูปร่างของคนเหมือนๆกัน (กระชายมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับนมผู้หญิง และบางครั้งก็ดูคล้ายเพศชาย ทำให้เกิดความเชื่อ ที่น่าจะมีความเกี่ยวข้องในเรื่องสรรพคุณทางเพศ)

ผลงานวิจัยเพิ่มเติม เกี่ยวกับ สารสกัดกระชายขาว

1. สารสกัดกระชายขาว สามารถยับยั้งเชื้อไวรัสโควิด (Covid-19) ได้ ผลจากงานวิจัยอ้างอิงศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (TCELS) คณะวิทยาศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

2. สาร Pinostrobin สารสกัดกระชายขาวยังมีฤทธิ์ช่วยต้านการเจริญเติบโตของเชื้อราซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคกลาก 3 ชนิด และช่วยต้านการเจริญของเชื้อ Candida albican ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการตกขาวในสตรี เป็นอีกหนึ่งงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล

3. สารสกัดจากกระชายสามารถช่วยต้านการเสื่อมของกระดูกอ่อนในหลอดทดลองได้ จากงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

4. สาเหตุของการเกิดโรคมาลาเรีย รากและใบของกระชายนั้นได้มีงานวิจัยในประเทศกานาพบว่าสาร Pinostrobin มีฤทธิ์ช่วยต้านเชื้อ Plasmodium falciparum

5. งานวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พบว่าสารสกัดคลอโรฟอร์มและเมทานอลจากรากของกระชายมีฤทธิ์ในการต้านการเจริญเติบโตของเชื้อ Giardia intestinalis ซึ่งเป็นพยาธิเซลล์เดียวในลำไส้ที่ก่อให้เกิดภาวะท้องเสีย ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างมากสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง

6. สารสกัดกระชายอีก 4 ชนิด มีฤทธิ์ต้านเชื้อโรค อย่างแบคทีเรียได้หลายชนิด จากงานวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพบ สาร Pinostrobin, Pinocembrin, Panduratin A และ Alpinetin ที่สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียได้

7. งานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่าด้วยการผลิตสารออกฤทธิ์จากกระชายเหลืองหรือสารสกัดกระชายขาว ใช้สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อผิวขาว

8. งานวิจัยของ นายแพทย์นพรัตน์ บุญยเลิศ ในโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงเล็งเห็นความสำคัญเกี่ยวกับสมุนไพร ทรงให้มีการศึกษา ส่งเสริมสนับสนุน พัฒนาและอนุรักษ์สมุนไพร อย่างโครงการสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อนที่พบว่า กระชายแดงรักษามะเร็งเม็ดเลือด และมะเร็งกระดูก


สารสกัดกระชายขาว สามารถยับยั้งเชื้อไวรัสได้จริงหรือไม่ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://mmed.com/product/mmed-finger-root-extract-plus-beta-glucan/ (https://mmed.com/product/mmed-finger-root-extract-plus-beta-glucan/)