สาวก Motorola GP-300 ที่อยากใช้เสานอกกรุณาดูทางนี้ ว่าใช้ได้ไหม
สัปดาห์ที่แล้ว เขียนมาหนึ่งกระทู้ มาบอกชาวบ้านเขาว่าใช้ไม่ได้ จะเสียผู้เสียคนเอานะเนี่ย ลบกระทู้ทิ้งแทบไม่ทัน กำ..!! (คงไม่มีใครอ่านเนอะ อิอิ) มาวันนี้ไปค้นเจอ Service Manual ของเว็บต่างประเทศ เลยแงะเครื่องที่บ้านดูอีกที วันนั้นคงเมายาดองมากไป วันนี้เลยพบสัจธรรม
ว่าตาม Service Manual ดูไปดูมา อ้าวฝรั่งนี่มันเข้าใจเล่นนะ เล่นเอาคนไทยบางคนเขวหรือหลงทางกันไปเลย กับเจ้าอแดปเตอร์หรือ
ขั้วแปลงแกนยาวนั่นแหละ พอเสียบเข้าไป แล้วความหมายมันเปลี่ยนไปเลย มาดูภาพตามกันไป อันนี้ไม่พลาดแล้วนะ ของจริง อิอิ
1. ไปเจอจากไฟล์ PDF ด้านล่างสุด
..ที่ลิ้งค์นี้.. มานั่งดูนั่งอ่าน เอาแล้วๆๆๆ งานเข้าแล้วดิ ฝรั่งเจ้าเล่ห์เล่นตรูซ๊ะแร๊วววว... คิดผิดมาตั้งนาน ว่าเจ้าตัวแปลงเพื่อใส่เสานอกแบบแกนยาว มันใช้ไม่ได้ พอเห็นวงจรนี้อึ้งเลย ก็หมายถึงมันใช้ได้อ่ะดิ
ใครนึกภาพไม่ออก ให้นึกภาพเราเสียบหูฟังเข้าโทรศัพท์มือถือ แล้วมันจะตัดเสียงออกหูฟัง ยังไงยังงั้น
2. ขยายจากภาพที่หนึ่ง แล้วเอาขั้วแปลงไปวาง ในตำแหน่งของจริง เพื่อให้เห็นภาพชัดๆ
- สีแดง คือ ลายวงจรภาคส่ง-ภาครับ
- สีน้ำเงิน คือ แยกไปเสายางคู่ตัว
- สีเขียว คือ เสายางคู่ตัว
- สีเหลือง คือ ขากราวด์ (ขั้วลบ)
- สีน้ำตาล คือ ขดลวด L111 ต่อลงกราวด์
2.1 ขยายความจากภาพ พอเราเสียบขั้วแปลงเข้าไป ที่ปลายขั้วแปลงมันจะไปงัดขาสัญญาณสีแดงคือขาA ให้หลุดจากขาB ทำให้ไม่มีสัญญาณวิ่งไปที่สีน้ำเงินไปออกทางสีเขียว
ตรงจุดขาAที่ไปงัดนั้น มันจะรับสัญญาณวิ่งไปในแกนกลางตัวแปลง เพื่อรอเราเอาเสาไปเสียบ 2.2 ดูที่กรอบเหลือง มันจะแตะกับขั้วเกลียวของตั้วแปลง พากันลงกราวด์
2.3 ดูที่ขั้วสีเขียว (สำหรับต่อสายอากาศยางคู่ตัว) มันจะไปแตะกับขั้วเกลียวของตัวแปลง แล้วพากันลงกราวด์
2.4 สรุปแล้ว ลายวงจรที่เป็นสี
น้ำเงิน เขียว เหลือง มันจะต่อลงกราวด์อัตโนมัติ เมื่อเราเสียบตัวแปลงแกนยาวเข้าไป

3. มัลติมิเตอร์ที่ใช้วัด

4. ตั้งมิเตอร์ไว้ที่วัดค่าโอห์ม (วัดค่าตัวต้านทาน)

5. จากข้อ4 แล้วทำการวัดค่าโอห์ม ของขากราวด์ ผลคือขานอกของขั้วแปลงต่อลงกราวด์ถูกต้อง

6. เปลี่ยนไปวัดแบบอื่นบ้าง อันนี้วัดค่าแบบเสียงต่อเนื่อง (Continuous) ปกติช่างทั่วไปจะใช้วัดการลัดวงจร แล้วฟังเสียง (ง่ายดี)

7. จากข้อ6 พอวัดแล้ว ผลคือมีเสียงดังต่อเนื่อง นั่นก็หมายถึง ขานอกของขั้วแปลงต่อลงกราวด์

8. ทีนี้เรามาวัดของขาสัญญาณกันบ้าง ผลจะออกมาเช่นไร ให้มองย้อนกลับไปในวงจรที่ข้อ1 ว่ามันมีคาปาซิเตอ์ C121 ค่า 470pf ต่อกั้นอยู่ และถ้าเราดูลายวงจรไปเรื่อยๆ จะไม่มีจุดไหนลัดลงกราวด์ให้เราใช้มิเตอร์วัดเปรียบเทียบค่าได้เลย เราต้องใช้วิธีวัดค่าแบบสุ่มแทน
ซึ่งผลที่ได้จะต้องไม่เป็นศูนย์หรือค่าอนันต์ และเราจะตั้งมิเตอร์ไปวัดค่าโอห์มไม่ได้ เพราะมันมีค่า C121 อย่างที่บอก
จึงต้องตั้งมิเตอร์ไปวัดค่าคาปาซิเตอร์เท่านั้น
9. ผลที่ได้ ก็ตรงตามที่เราต้องการ คือต้องขึ้นค่าใดค่านึง ในที่นี้ขึ้นเป็นค่า nf (นาโนฟารัด) ซึ่งจะต่ำกว่า pf (พิโคฟารัด) สรุปคือ ตัวแปลงแกนยาวแบบนี้ใช้งานได้ตามปกติครับ ฉะนั้น มันจึงใช้เสานอกได้ทุกชนิด และใช้เครื่องวัดค่าต่างๆได้ตามปกติ

10. มาดูภาพถ่าย ที่เราเสียบตัวแปลงแกนยาวเข้าไป

11. ขยายภาพให้ดู ว่าแกนของตัวแปลงมันจะมาเกย และงัดแผ่นเหล็กขั้วA ลงด้านล่างให้ห่างจากแผ่นเหล็กขั้วB เพื่อไม่ให้มีสัญญาณวิ่งไปที่ตำแหน่งเสายางเดิม จบข่าว...

PDF Service Manual
http://www.repeater-builder.com/motorola/manuals/gp300-svc-man-6880901z93-c.pdf