ข้ า พ ร ะ พุ ท ธ เ จ้ า
~
ก ลุ่ ม เ ว็ บ จี พี เ อ ส เ ที่ ย ว ไ ท ย ด อ ท ค อ ม
(กลุ่มเว็บลูกหลานชาวพิจิตร)
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่เว็บด้วยชื่อ รหัสผ่าน และเลือกเวลาอยู่ในเว็บ
หน้าแรก
เว็บบอร์ด
กฏ-ระเบียบ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
ลืมรหัสผ่าน
สมัครสมาชิก
หมวดบอร์ดฝากประชาสัมพันธ์ต่างๆ (เปิดเป็นสาธารณะ 7 พ.ย. 60)
จิปาถะทั่วไป (ไม่มีกลุ่ม)
Copayment คืออะไร ทำไมต้องจ่ายร่วม
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
ผู้เขียน
หัวข้อ: Copayment คืออะไร ทำไมต้องจ่ายร่วม (อ่าน 43 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
airrii
* ฝากประชาสัมพันธ์ *
กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
-มอบให้: 0
-จึงได้รับ: 0
85
กำลังใจ :
+0/-0
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เบราเซอร์:
Firefox 139.0
สมาชิกลำดับที่: 3074
Copayment คืออะไร ทำไมต้องจ่ายร่วม
«
เมื่อ:
23 มิถุนายน 2568, เวลา 15:05:28 น. »
Share:
นี่คือคำถามที่สร้างความสงสัยให้ใครหลายคนทันที โดยเฉพาะคนที่กำลังจะตัดสินใจทำประกันสุขภาพ หลังจากรู้ว่าสมาคมประกันชีวิตไทยได้กำหนดหลักเกณฑ์ ‘ส่วนจ่ายร่วม’ หรือ ‘Copayment’ ในปีต่อ เป็นเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันสุขภาพฉบับใหม่ที่เริ่มคุ้มครองตั้งแต่ 20 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป
เงื่อนไข Copayment 3 กรณีที่ต้องรู้
เราทุกคนต่างรู้กันดีว่า ความเจ็บป่วยและอุบัติเหตุเป็นเรื่องที่ไม่อาจคาดเดาได้ การมีประกันสุขภาพที่คุ้มครองครอบคลุมจึงช่วยกระจายความเสี่ยงเรื่องค่ารักษาพยาบาลไม่ให้เราต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเอง แต่ปัญหาที่ผ่านมา คนส่วนใหญ่มักเลือกแอดมิท (Admit) หรือนอนค้างคืนที่โรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยในจากอาเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ ส่งผลให้อัตราการเคลมค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นเกินกว่าความเป็นจริง
กรณี 1 : การเคลมค่ารักษาผู้ป่วยใน (IPD) จากการเจ็บป่วยเล็กน้อย (Simple Diseases)
หากเข้าเงื่อนไขทั้ง 3 ข้อนี้จะต้องร่วมจ่าย 30% ทุกค่ารักษาพยาบาลในปีกรมธรรม์ถัดไป
จำนวนการเคลมมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้ง/ปีกรมธรรม์
อัตราเคลมมากกว่าหรือเท่ากับ 200% ของ
เบี้ยประกันสุขภาพ
อาการเจ็บป่วยเล็กน้อย หมายถึง อาการที่ไม่จำเป็นต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล อาการไม่รุนแรง เพราะเป็นอาการเจ็บป่วยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน รักษาง่ายและหายได้เองรักษาได้ด้วยยาสามัญประจำบ้าน หรือสามารถฟื้นตัวจากอาการป่วยได้เองด้วยภูมิคุ้มกันของร่างกาย ไม่มีอาการภาวะแทรกซ้อน
กรณี 2 : การเคลมค่ารักษาผู้ป่วย (IPD) จากการเจ็บป่วยโรคทั่วไป (ไม่รวมโรคร้ายแรงและการผ่าตัดใหญ่)
หากเข้าเงื่อนไขทั้ง 3 ข้อนี้จะต้องร่วมจ่าย 30% ทุกค่ารักษาพยาบาลในปีกรมธรรม์ถัดไป
จำนวนการเคลมมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้ง/ปีกรมธรรม์ อัตราเคลมมากกว่าหรือเท่ากับ 400% ของเบี้ยประกันสุขภาพ
การเคลมค่ารักษาพยาบาลอาการเจ็บป่วยโรคทั่วไป หมายถึง โรคใด ๆ ที่ไม่ใช่การผ่าตัดใหญ่ โรคร้ายแรง และไม่ใช่อาการเจ็บป่วยเล็กน้อย (Simple Diseases) ให้นับรวมเป็นการเจ็บป่วยทั่วไปทั้งหมด
กรณี 3 : เข้าเงื่อนไขทั้งกรณี 1 และกรณี 2 จะต้องร่วมจ่าย 50%
ทุกค่ารักษาพยาบาลในปีกรมธรรม์ถัดไป
ถึงตรงนี้ หลายคนอาจสงสัยเพิ่มอีกว่า ถ้าหากเข้าเงื่อนไข Copayment แล้ว จะมีผลตลอดไปในทุกปีกรมธรรม์หรือไม่ ?
คำตอบคือ Copayment ไม่ใช่การจ่ายร่วมตั้งแต่บาทแรกและไม่ใช่เงื่อนไขถาวร จะขึ้นอยู่กับการเคลมค่ารักษาพยาบาลของผู้ถือกรมธรรม์ประกันสุขภาพ โดยบริษัทประกันจะพิจารณาใหม่ในทุก ๆ รอบปีกรมธรรม์ หากปีกรมธรรม์ใดไม่เข้าเงื่อนไข Copayment ทุกกรณี ผู้ถือกรมธรรม์ประกันสุขภาพก็ไม่ต้องจ่ายร่วมในปีกรมธรรม์ถัดไปนั่นเอง
จ่ายร่วมแต่มั่นคงระยะยาว
ขอย้ำอีกที หากเข้าใจเงื่อนไข Copayment อย่างครบถ้วน ก็ไม่มีอะไรน่ากลัวหรือน่ากังวล ถึงแม้ว่าจะเป็นหลักเกณฑ์ใหม่ที่ทำให้ผู้ถือกรมธรรม์ประกันสุขภาพต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลบางส่วน แต่ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนทันที เพราะขึ้นอยู่กับการเคลมที่ต้องเข้าเงื่อนไขเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถบริหารจัดการได้ เพื่อไม่ให้การเคลมค่ารักษาพยาบาลเข้าเงื่อนไข Copayment
หลักเกณฑ์ ‘ส่วนจ่ายร่วม’ หรือ ‘Copayment’ นี้ ยังช่วยสร้างระบบประกันสุขภาพที่มั่นคง ซึ่งส่งผลดีกับทุกคนในระยะยาวทั้ง สร้างความตระหนักรู้ในการใช้บริการด้านการแพทย์ เพราะ Copayment ทำให้ผู้ถือกรมธรรม์ประกันสุขภาพจะคิดไตร่ตรองมากขึ้นว่าอาการเจ็บป่วยที่กำลังเป็นอยู่นั้นรุนแรงมากพอที่จะต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือไม่ และใช้บริการด้านการแพทย์ตามความจำเป็น พร้อมกับหันมาใส่ใจและดูแลสุขภาพตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอมากขึ้น
รวมถึง สร้างความยั่งยืนให้ระบบประกันสุขภาพ เพราะหนึ่งในปัญหาที่ทำให้คนจำนวนมากยกเลิกการต่อสัญญากรมธรรม์ประกันสุขภาพ คือ จ่ายเบี้ยประกันต่อไปไม่ไหว Copayment จึงช่วยลดความเสี่ยงและแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ เพราะในเมื่อ
บริษัทประกัน
ไม่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่สูงเกินจำเป็น ก็จะสามารถกำหนดเบี้ยประกันสุขภาพให้อยู่ในระดับที่สมเหตุสมผล เพิ่มโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงประกันสุขภาพได้มากขึ้นด้วย
ท้ายที่สุดแล้ว สิ่งสำคัญของเรื่องนี้ คือ การทำความเข้าใจเงื่อนไขต่าง ๆ อย่างละเอียด และเลือกแผนประกันสุขภาพที่เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถในการชำระเบี้ยประกัน เพราะจะทำให้ได้รับความคุ้มครองและผลประโยชน์จากประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของตนเอง
อ้างอิง
สมาคมประกันชีวิตไทย. (มกราคม 2568). รู้ทันอย่างไม่ตระหนกกับ “ส่วนจ่ายร่วม (Copayment) ในเงื่อนไขการต่ออายุกรณีครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัย”. วารสารประกันชีวิต, 013/2568, 2-13.
เข้าสู่ระบบ
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
หมวดบอร์ดฝากประชาสัมพันธ์ต่างๆ (เปิดเป็นสาธารณะ 7 พ.ย. 60)
จิปาถะทั่วไป (ไม่มีกลุ่ม)
Copayment คืออะไร ทำไมต้องจ่ายร่วม
ขึ้นบน
ลงล่าง
เว็บนี้
จะแสดงผลถูกต้อง
ฟ้อนต์สวยงาม
เข้าเว็บได้เร็ว
เมื่อท่านใช้เบราเซอร์
Chrome
และ
Firefox
เท่านั้น
ไม่รองรับ
Internet Explorer
แลกลิ้งค์ / ติดต่อเรา
web.phichitbaanrao@gmail.com
© สงวนลิขสิทธิ์ข้อมูลในเว็บนี้ตามกฎหมาย
ท่านสามารถนำไปเผยแพร่ได้แต่ต้องทำลิ้งค์กลับมา
เว็บส่วนราชการ
เว็บจังหวัดพิจิตร
|
สนง.ประชาสัมพันธ์พิจิตร
|
สนง.เทศบาลเมืองพิจิตร
|
สนง.เทศบาลตำบลสากเหล็ก
|
สนง.ขนส่งพิจิตร
|
สนง.วัฒนธรรมพิจิตร
|
ศูนย์อุทกวิทยาและบริหารน้ำภาคเหนือตอนล่าง
|
ระบบตรวจวัดสถานะภาพน้ำทางไกลอัตโนมัติ ลุ่มน้ำยมและน่าน
|
ศูนย์ดำรงธรรมพิจิตร
เว็บสถานศึกษา
วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร
|
โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม
|
โรงเรียนหัวดงรัฐชนูปถัมภ์
|
โรงเรียนตะพานหิน
|
โรงเรียนบางมูลนากภูมิวิทยาคม
|
โรงเรียนท่าเสาพิทยาคม
|
โรงเรียนเขาทรายทับคล้อพิทยา
|
โรงเรียนดงเจริญพิทยาคม
|
โรงเรียนสากเหล็กวิทยา
|
โรงเรียนวังทรายพูนวิทยา
|
โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์
|
โรงเรียนวชิรบารมีพิทยาคม
|
โรงเรียนวังโมกข์พิทยาคม
|
โรงเรียนบ้านวังอ้อ (ต.ท่าเยี่ยม)
เว็บทั่วไป
สวนมะนาวแป้นท้ายไร่บ้านวังกระทึง ต.เนินปอ อ.สามง่าม
|
เว็บเกษตรพอเพียงดอทคอม
|
เว็บเรือยาว ไทยลองโบ้ท
|
เว็บหลวงปู่จันทา ถาวโร
|
ฟรี.. แผนที่GPS ลาว กัมพูชา พม่า (ทั่วโลก) แบบเทพๆ
|
ดูกล้อง CCTV ทางหลวง 1
|
ดูกล้อง CCTV ทางหลวง 2
|
เช็คความเร็วเน็ต - adslthailand.com
|
บอร์ดนักวิทยุสมัครเล่น
|
ตรวจสอบการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นจากชื่อหรือนามเรียกขาน
|
ตรวจสอบนามเรียกขานที่ถูกยกเลิก
|
เว็บโหลด youtube เป็น mp3 หรือ VCD
ลิ้งค์1
ลิ้งค์2
|
ตรวจผลสลาก..
|
ติดตามการส่งพัสดุ EMS
|
กสทช.กิจการวิทยุสมัครเล่น (เค้าอัพเดทแล้วนะ 31/1/60)
|
ทีปบางพลัดดอทคอม หรือ ทีป อิเล็คทรอนิคส์
|
ร้านซ่อมดอทคอม
เว็บกลุ่มเดินทาง
การบินไทย
|
โอเรี่ยนไทย
|
แอร์เอเชีย
|
Solar Air
|
บางกอกแอร์เวย์
|
บริษัทขนส่งจำกัด (บขส.)
|
การรถไฟแห่งประเทศไทย
|
สมบัติทัวร์
|
สยามเฟิสท์ทัวร์
|
นครชัยแอร์
|
รถทัวร์ไทยดอทคอม
หน่วยงานรัฐ-เอกชนใน จ.พิจิตร ต้องการฝากลิ้งค์ ติดต่อ
น้ายอด สามง่าม มือถือ 095-3949895
อีเมล์:
web.phichitbaanrao@gmail.com